วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 2


บทที่ 2

หน่วยที่ แนวคิดการสร้างสื่อมัลติมีเดีย  เรื่องการรีทัชเพื่อตกแต่งภาพโดยใช้  โปรแกรม Adobe Lightroom
                ปัจจุบันงานด้านการออกแบบและตกแต่งภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากกับ การสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งไม่จำกัดแต่เฉพาะกับบุคคลในวงแคบเช่นในอดีตเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมา ประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ เช่น การตกแต่งภาพ การสร้างสรรค์ภาพ การเพิ่มลูกเล่นให้กับชิ้นงานต่างๆ ซึ่ง Adobe Lightroom เป็นโปรแกรมตกแต่งรูปภาพ  ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆอีกทั้งยังตกแต่งรูปภาพสวยๆได้ด้วยตนเองภายในเวลาอันรวดเร็ว
โปรแกรม Adobe Lightroom  เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพที่บุคลากรในหลายสาขาอาชีพให้ความสนใจและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากโปรแกรม Adobe Lightroom สามารถตกแต่งรูปภาพออกมาได้หลายรูปแบบ  นอกจากนี้โปรแกรม Adobe Lightroom ยังสามารถสร้างความโดดเด่นให้แก่ชิ้นงานอีกด้วย
ผู้จัดทำโครงการเล็งเห็นความสำคัญในการใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจจึงได้จัดทำโครงการโปรแกรม Adobe Lightroom เพื่อพัฒนาทักษะการใช้งานโปรแกรมตกแต่งภาพแก่บุคคลทั่วไปที่สนใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานของตนได้

หน่วยที่ 2  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Adobe Lightroom

ส่วนประกอบหน้าต่างโปรแกรม Lightroom


ในโปรแกรม Lightroom มีเครื่องมือคำสั่งให้เลือกใช้ตกแต่งภาพมากมาย  ซึ่งเมื่อเปิดโปรแกรมเข้ามาจะทำงานในโมดูล Library ก่อนทุกครั้ง  โดยแบ่งออกเป็นหน้าต่างพาเนลที่สัมพันธ์กับโมดูลต่าง ๆ  ดังนี้



A.            โมดูล  ใช้สำหรับกำหนดการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ  มีให้เลือก 4 โมดูล  ได้แก่
Ø Library  สำหรับจัดการภาพ, โฟลเดอร์ และปรับแต่งภาพเบื้องต้น
Ø Develop  สำหรับตกแต่งภาพอย่างละเอียด
Ø Slideshow  สำหรับนำภาพมาสร้างเป็น  Slideshow
Ø Print  สำหรับนำภาพมาพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ
Ø Web  สำหรับนำภาพมาสร้างเป็นเว็บแกลอรี
B.             หน้าจอหลัก  ใช้สำหรับแสดงรูปภาพที่เลือกจากพาเนล  Filmstrip  และแสดงภาพผลลลัพธ์จากการปรับแต่ง
C.             พาเนลฝั่งซ้าย  ประกอบไปด้วยกลุ่มพาเนลต่าง ๆ  ที่ใช้สำหรับจัดการรูปภาพ  และโฟลเดอร์  รวมถึงการสร้างแคตตาล็อก (Catalog)  และคอลเล็คชัน (Collections)
D.            พาเนล  Filmstripเป็นหน้าต่างที่ใช้แสดงรูปภาพขนาดเล็กของโฟลเดอร์ที่เลือกทำงาน  โดยเมื่อคลิกที่รูปภาพใดก็จะแสดงเป็นภาพใหญ่ในหน้าจอหลัก
E.             พาเนลขวา  ประกอบไปด้วยกลุ่มพาเนลต่าง ๆ  ที่ใช้สำหรับปรับแต่งภาพที่เลือกทำงาน  โดยพาเนลทั้งหมดจะเปลี่ยนไปตามโมดูล

*โมดูลในโปรแกรม Lightroom  ก็คือโมดูลที่ใช้สำหรับจัดการกับภาพถ่าย


ซ่อน/แสดงแถบพาเนล
                ในกรณีที่ต้องการซ่อนกลุ่มพาเนลต่าง ๆ  เพื่อเพิ่มพื้นที่การทำงานของหน้าจอหลัก  สามารถทำได้โดยคลิกปุ่ม3และถ้าต้องการแสดงกลุ่มพาเนลต่าง ๆ  ก็ให้คลิกปุ่ม 4



ย่อ/แสดงหน้าต่างพาเนล

                ในแต่ละพาเนลจะประกอบไปด้วยคำสั่งหรือเครื่องมือต่าง ๆ  มากมาย  เมื่อเปิดแสดงทั้งหมดก็จะทำให้มองไม่เห็นกลุ่มพาเนลที่อยู่ถัดไป  ดังนั้น  หากต้องการแสดงหรือใช้งานกลุ่มพาเนลที่ถัดไป  เราสามารถย่อพาเนลนั้น ๆ  ได้โดยคลิกที่ปุ่ม6และถ้าต้องการแสดงพาเนลนั้นก็ให้คลิกปุ่ม3หรือ4



ซูมเลื่อนดูภาพด้วยพาเนล  Navigator

                พาเนล  Navigator  เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับปรับย่อ-ขยาย  หรือเลื่อนดูส่วนต่าง ๆ  ของภาพ  โดยสามารถเลือกระดับย่อ-ขยายได้ 2 แบบ  ได้แก่
Ø ย่อ-ขยายภาพตามขนาดจอภาพ  สามารถเลือกได้ 2 แบบคือ  FIT  แสดงภาพแบบพอดีหน้าจอ  และ  FILL  แสดงภาพแบบเต็มหน้าจอแสดงผล



Import  ภาพมาใช้งาน

                อันดับแรกก่อนการปรับแต่งภาพด้วยโปรแกรม  Lightroom  คือ  จะต้องอิมพอร์ต (Import)  ภาพเข้ามาใช้งานก่อน  โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.               คลิกเมนู  File > Import Photos and Video  (หรือคลิกปุ่ม  Import  บนพาเนลด้านซ้าย)




2.               คลิกเลือก  Select a source  เพื่อเลือกแหล่งต้นทางของไฟล์ภาพ
3.               คลิกเลือกโฟลเดอร์ภาพที่ต้องการ  หรือคลิกเลือก  Other Source  เพื่อเลือกโฟลเดอร์เก็บภาพจากไดร์ฟอื่น



4.               กำหนดออฟชั่นการ  Import  ภาพ  สามารถเลือกได้ 4 แบบได้แก่
Ø Copy as DNGสำหรับ  Import  ภาพที่เป็นไฟล์  RAW  พร้อมกับแปลงไฟล์เป็น  .DNG  โดยอัตโนมัติ
Ø Copy คัดลอกไฟล์จากต้นทางไปยังปลายทางโดยไฟล์ต้นทางจะไม่ถูกลบ
Ø Moveย้ายไฟล์ไปยังปลายทางและลบไฟล์ต้นทาง
Ø Addเพิ่มไฟล์ไปยัง   Catalog  โดยไม่ก๊อปปี้  หรือลบไฟล์ต้นฉบับ

5.               คลิกเลือกไดร์ฟหรือโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บภาพ  หรือคลิกเลือก  Other Destination  เพื่อเลือกโฟลเดอร์อื่น  (หากเลือกออปชัน  Add  จะไม่สามารถทำขั้นตอนนี้ได้)




6.               คลิกตัวเลือก  Rename Files  ที่พาเนล  File Renaming  เพื่อกำหนดรูปแบบให้ชื่อไฟล์ภาพที่ Import
7.               ที่ Template  บนพาเนล  File Renaming  ให้คลิกเลือกรูปแบบชื่อไฟล์ตามต้องการโดยเลือกได้ดังนี้
Ø Custom Name (x of y)กำหนดชื่อไฟล์เองโดยแสดงลำดับและจำนวนภาพท้ายชื่อภาพ
Ø Custom Name – Original File Number  กำหนดชื่อไฟล์เองโดยแสดงลำดับภาพเดิมท้ายชื่อภาพ
Ø Custom Name – Sequenceกำหนดชื่อไฟล์พร้อมกำหนดลำดับภาพเอง
Ø Custom Nameกำหนดชื่อไฟล์ได้อย่างอิสระ
Ø Date – Filenameกำหนดชื่อไฟล์จากวันที่  ตามด้วยชื่อไฟล์เดิมของภาพ
Ø Filename – Sequenceใช้ชื่อไฟล์เดิมตามด้วยลำดับภาพ
Ø Filenameใช้ชื่อไฟล์เดิมของภาพ
Ø Shoot Name – Original File Numberกำหนดชื่อชุดการถ่ายภาพโดยแสดงลำดับภาพเดิมท้ายชื่อภาพ
Ø Shoot Name – Sequenceกำหนดชื่อชุดของภาพ  และกำหนดลำดับภาพเอง




8.               คลิกเลือกเฉพาะภาพที่ต้องการ  หรือคลิกปุ่ม  Check All  เพื่อเลือก  Import  ภาพทั้งหมด



9.               กำหนด  Keyword  ลงไปในช่อง  Keywords  บนพาเนล  Apply During Import  โดยคีย์เวิร์ดนี้จะช่วยในการค้นหาภาพ
10.               คลิกปุ่ม  Import  เพื่อเริ่มต้น  Import  ภาพ



หน่วยที่ การตกแต่งภาพให้สวยหลายสไตล์


สร้างกรอบรูปภาพแบบง่าย ๆ
                สำหรับ  Workshop  แรกนี้จะเป็นการสร้างกรอบให้กับรูปภาพแบบง่าย ๆ  โดยใช้พาเนล  Effects  ไม่ว่าจะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม, กรอบวงกลม, กรอบวงรี  รวมถึงกำหนดสีขอบของกรอบภาพได้ 2 สี  คือ  สีขาว  และสีดำ  โดยมีขั้นตอนการสร้างกรอบภาพง่าย ๆ  ดังนี้
1.)           เลือกภาพที่ต้องการใส่กรอบ
2.)           ที่พาเนล  Effects  ในกรณีที่ต้องการกรอบภาพเป็นสีดำให้ปรับลดค่าที่  Amount  เป็น -100
3.)           ปรับลดค่าที่  Roundess  เป็น -80  เพื่อสร้างกรอบภาพสี่เหลี่ยมมุมมน
4.)       จะได้กรอบภาพสี่เหลี่ยมสีดำมุมมน
ถ้าหากต้องการสร้างกรอบภาพสี่เหลี่ยมสีขาวมุมมน  สามารถทำได้โดยปรับเพิ่มค่าที่  Amount  เป็น +100  จากนั้นจะได้กรอบภาพสี่เหลี่ยมสีขาวมุมมนดังภาพ


แต่ถ้าหากต้องการสร้างกรอบภาพวงกลมหรือวงรี  สามารถทำได้โดยปรับค่าที่  Roundness  ในระหว่าง 0 ถึง +100  และปรับขนาดวงกลมหรือวงรีที่  Midpoint  จากนั้นจะได้กรอบภาพวงกลมหรือวงรีดังภาพ



สร้างภาพสีเฉพาะจุด
                สำหรับใน  Workshop  นี้เราจะสร้างภาพสีเฉพาะบริเวณที่ต้องการเท่านั้น  ส่วนที่เหลือจะให้เป็นภาพขาว-ดำ  ซึ่งเทคนิคการปรับแต่งภาพแนวนี้จะต้องเลือกใช้ภาพที่มีโทนสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน  โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.)            เลือกภาพที่ต้องการปรับ
2.)           เพิ่มค่า  Exposure  และ  Contrast  ที่พาเนล  Basic  ซึ่งจะทำให้เห็นรายละเอียดส่วนสว่างมากขึ้น  เพื่อให้เวลาลดสีดำทำได้ง่ายขึ้นด้วย
3.)           คลิกที่พาเนล  HSL
4.)           คลิกที่  Saturation
5.)           คลิกที่ปุ่ม (ใส่รูป)
6.)           แดรกเมาส์ลงบนภาพในบริเวณที่ต้องการลดสีให้เป็นสีดำ
7.)           ปรับค่าความสดของสีให้สดขึ้นที่  Vibrance  ในส่วน  Presence
8.)           ปรับลดค่า  Clarity  ลง  เพื่อให้ภาพดูนุ่มนวลขึ้น
ถ้าหากต้องการเน้นรายละเอียดของภาพให้มีมิติและดูกระด้างมากขึ้น  ให้เพิ่มค่าที่  Clarity
ปรับแต่งโทนสีและแสง
                ในกรณีที่ถ่ายภาพในสภาพแสงที่ไม่ค่อยเหมาะสม  อาจทำให้แสงเงาของภาพมืดไปนิด  สว่างไปหน่อย  เราสามารถปรับภาพให้มีแสงและเงาที่ดีขึ้นได้  รวมถึงปรับปรุงสีของภาพให้ดีขึ้น  โดยมีวิธีการปรับแต่งดังนี้
1.)           เลือกภาพที่ต้องการปรับแต่ง
2.)          
ปรับภาพให้สว่างขึ้นกว่าเดิม  แต่จะมีผลให้บางส่วนของภาพแตกเป็นเม็ดสีด้วย


3.)            ลดเม็ดสีที่เกิดขึ้นในส่วน  Noise Reduction

4.)           คลิกที่ปุ่ม (ใส่รูปปุ่ม)  เพื่อปรับแต่งแสงเงาของภาพ
5.)           คลิกเลือกแชลแนลสี  RGB
6.)           แดรกเมาส์ปรับดึงเส้น  Curve  เป็นรูปตัว S


7.)            ปรับเน้น  Contrast  ของภาพให้สูงขึ้น


8.)            ปรับปรุงสีของท้องฟ้าด้วยเครื่องมือ  (ใส่รูป)  Graduated Filter
9.)          
ลดค่า  Exposure  เพื่อให้ภาพดูมืดลงตามความเหมาะสม
10.)           แดรกเมาส์ไปบนบริเวณท้องฟ้า
11.)           เมื่อได้ภาพดูมืดลงตามที่ต้องการแล้วให้คลิกปุ่ม  Done



ภาพที่สมบูรณ์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น